แฮกเกอร์คอมพิวเตอร์
คุก 21ปีเศษแฮกเกอร์แสบล้วงข้อมูลลับบัตรเอทีเอ็มลูกค้าแบงก์ใบโพธิ์ โอนเงินกว่า 3 แสนไปจ่ายหนี้ รับสารภาพเหลือติด10 ปี เศษพร้อมคืน3.6แสนให้ผู้เสียหาย
เนื้อหาข่าว
นายภาณุพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ ฤกษ์เสริมสุข อายุ 30
ปี ชาว จ.นครนายก
เป็นจำเลยในความผิดฐานเข้าระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข
เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหาย ,ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ,ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยจำเลยบังอาจใช้ข้อมูลหมายเลข 16 หลัก ที่ปรากฏบนหน้าบัตร เอทีเอ็ม
พร้อมรหัสลับที่ใช้ถอนเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
ผู้เสียหายที่ออกให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้เสียหายอีก 4 ราย
แล้วจำเลยนำไปสมัครขอใช้บริการ SCB EASY NET โดยกำหนดชื่อประจำตัว และรหัสผ่านด้วยตนเองตามขั้นตอนและวิธีการที่ ธนาคารฯ
กำหนด เป็นเหตุให้ธนาคารฯหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้เสียหาย4 ราย
จึงออกชื่อประจำตัวผู้ใช้ให้ จากนั้นจำเลยได้นำชื่อประจำตัวของผู้เสียหาย
และรหัสผ่านไปโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายเพื่อใช้ชำระค่าสินค้า
หรือบริการทางอินเตอร์เน็ตหลายครั้งซึ่งเป็นร้านค้าต่างประเทศรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 368,800 บาท
ต่อมาตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรรมทางเทคโนโลยี
(ปอท.)ติดตามจับกุมได้ พร้อมให้การรับสารภาพ เหตุเกิดที่แขวงเขต-
จตุจักร กรุงเทพฯ และที่อื่นเกี่ยวพันกัน
กระทำผิดมาตรตรา
กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/5
ประกอบมาตรา269/7 ,334,335 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 5,7,9
บทลงโทษในการกระทำผิด
ศาลตัดสินบทลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
5
กระทง จำคุกกระทงละ 9 เดือน เป็นจำคุก 3
ปี 9 เดือน
ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข
เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหายฯ 4 กระทง
จำคุกกระทงละ 2 ปี เป็นจำคุก 8 ปี
และฐานลักทรัพย์ฯ จำคุกกระทงละ 2 ปี 5 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี รวมจำคุก 21 ปี 9 เดือน
คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลย 10 ปี
10 เดือน 15 วัน
และให้จำเลยชดใช้เงินคืน 368,800 บาทแก่ผู้เสียหายด้วย.
การป้องกันการกระทำผิด
การมีความรู้ในด้านระบบคอมพิวเตอร์
ถือเป็นสิ่งที่ดีหากนำสิ่งที่มีอยู่ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร
แต่หากนำความรู้ของตนไปใช้ในทางที่ผิด ก็อาจส่งผลร้ายต่อผู้อื่น รวมทั้งตนเองด้วย
ดังนั้น แนวทางในการป้องกันการกระทำผิดคือ
ไม่ควรให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคารของตนเอง และควรเก็บข้อมูลให้ดี
มีการตรวจสอบข้อมูลในบัญชีอยู่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันอันตรายในการเจาะข้อมูลของตนเอง
และสิ่งที่ดีที่สุดในการทำธุระกรรมกับธนาคาร คือควร ไปติดต่อที่ธนาคารโดยตรง
ไม่ควรติดต่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพราะอาจทำให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ง่าย
จากข่าวนี้แสดงให้เห็นว่า
นายภาณุพันฒน์
ได้กระทำความผิดโดยการเข้าข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการป้องกันและแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตรเอทีเอ็มของผู้อื่น
เพื่อที่จะไปเบิกเงินเจ้าของบัญชี
เขาได้ใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ตนมีอยู่ไปใช้ในทางที่ผิด
ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายและผิดหลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
เป็นการลักทรัพย์และเบียดเบียนผู้อื่นทำให้ผู้อื่นและตนเองเดือดร้อน
และเมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับได้ก็ต้องถูกลงโทษหลายกระทงและยังต้องชดใช้เงินคืนให้กับผู้เสียหายอีกด้วย
ถือว่าเป็นผลกรรมที่ตนเองได้ทำไว้กับผู้อื่น เหมือนกับหลักคำสอนที่ว่า ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัจธรรม
แนวทางการแก้ไขและป้องกัน คือ
คนเราเมื่อมีความรู้ในระบบด้านคอมพิวเตอร์แล้วถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
เราควรที่จะนำความรู้นี้ไปใช้ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นจะดีกว่า
หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็จะส่งผลร้ายกับตนเองและผู้อื่น
ทำให้ได้รับความเดือดร้อน
ดังนั้น แนวทางการป้องกัน คือ
เราควรเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นรหัสบัตรที่สำคัญต่างๆ
บัญชีเงินฝากเราก็ควรจะเช็ครายละเอียดกับธนาคารอยู่สม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันการเจาะข้อมูลนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องและควรทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น
แหล่งที่มา
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น